นิทรรศการทางเลือก “NIMT Fight Covid-19” ฉบับออนไลน์ ที่ทำให้คุณเห็นความสำคัญของ “มาตรวิทยา” หรือ “วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการวัดและการประยุกต์ใช้” กับ การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19

เลื่อนลง ↓  Scroll Down

การวัดอุณหภูมิร่างกาย ถือเป็นวิธีเบื้องต้น ที่ช่วยในการประเมินร่างกายของประชาชนทั่วไปว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 หรือไม่

เลื่อนลง  ↓  Scroll Down

โดยทั่วไป อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายมนุษย์ปกติ จะอยู่ระหว่าง 36.5 – 37.5 องศาเซลเซียส หรือ 97.7 – 99.5 องศาฟาเรนไฮต์   หากคนเรามีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป (หรือสูงกว่า 99.5 องศาฟาเรนไฮต์) แสดงว่า มีไข้ ไม่สบาย  

หากผู้มีอาการป่วย เป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่โรคติดเชื้อโควิด-19 กำลังระบาด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสสูงที่คน ๆ นั้นจะเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19

เลื่อนลง  ↓  Scroll Down

เครื่องวัดอุณหภูมิทางการแพทย์

…มีกี่ประเภทกันนะ ….

แถบวัดอุณหภูมิ
(Forehead Thermometer Strip)

นิยมเรียก “แถบวัดไข้” หรือ “เทปวัดไข้” ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ 

วิธีการใช้งาน

  1. วางแถบวัดอุณหภูมิบนหน้าผากที่แห้ง อย่างน้อย 15 วินาที หรือจนกระทั่งสีที่ปรากฏขึ้นบนแถบวัดอุณหภูมิไม่เปลี่ยน
  2. อ่านผลขณะที่แถบวัดอุณหภูมิยังอยู่บนหน้าผาก
  3. เมื่อใช้งานแล้ว เพียงใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาด ก็สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ หากจำเป็นสามารถล้างด้วยสบู่และน้ำได้ แต่อย่านำไปแช่น้ำ

เลื่อนลง  ↓  Scroll Down

ปรอทวัดไข้

(Medical Thermometer หรือ Glass Thermometer)

ปรอทวัดไข้ มักถูกเรียกสั้น ๆ ว่า “เทอร์โมมิเตอร์” ใช้วัดไข้ได้ทั้งทางปาก ทางรักแร้ และทางทวารหนัก

เตรียมความพร้อมของปรอทวัดไข้
โดยการนำปรอทที่ทำความสะอาดแล้ว จับบริเวณปลายด้าม ด้านบนให้แน่น โดยหันปลายกระเปาะลงด้านล่าง สะบัดอย่างแรง ให้สีปรอทลงไปอยู่ต่ำกว่าขีด 35.6 องศาเซลเซียส (96 องศาฟาเรนไฮต์)

ไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ไม่ว่าร้อนหรือเย็น เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงก่อนการวัดอุณหภูมิ

วิธีการใช้งาน

  1. การวัดไข้ทางรักแร้
        เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี โดยเช็ดรักแร้ให้แห้ง สอดปลายกระเปาะบริเวณกึ่งกลางรักแร้ หนีบไว้อย่างน้อย 4 นาที แล้วจึงอ่านอุณหภูมิ
  2. การวัดไข้ทางปาก
        เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 5 ปี ขึ้นไป โดยสอดปลายกระเปาะไว้บริเวณใต้ลิ้น ปิดปากลง ห้ามเคี้ยวหรือกัดปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้ปรอทแตก รอประมาณ 3-4 นาที แล้วจึงอ่านอุณหภูมิ
  3. การวัดไข้ทางทวารหนัก
       เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด หรือเด็กเล็ก โดยนำปลายกระเปาะทาด้วยวาสลิน หรือสารหลื่อลื่น เพื่อลดการเสียดสีทางทวารหนัก ค่อยๆ สอดปลายกระเปาะเข้าไปในก้นอย่างระมัดระวัง ไม่ควรสอดลึกเกิน 1 นิ้ว รอสัก 1 – 3 นาที จึงนำออกมาอ่านอุณหภูมิ
  • วิธีการอ่านอุณหภูมิ
    ใช้มือจับปลายด้านบน ให้ปรอทอยู่แนวนอน จนเห็นอุณหภูมิชัดเจน อ่านค่าบริเวณขีดสิ้นสุดของปรอท
  • การดูแลรักษาปรอทวัดไข้
    หลังการใช้แล้ว ควรล้างสบู่แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ รอให้แห้งแล้วบรรจุลงในกล่องเดิมเพื่อเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไป

เลื่อนลง  ↓  Scroll Down

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล 

(Digital Thermometer หรือ Digital Medical Thermometer)

ขอบคุณภาพ: www.thaichildcare.com

วิธีการใช้งาน

  • การวัดไข้ทางรักแร้: เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด และเด็กเล็ก
  • การวัดไข้ทางช่องปาก: เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ หรือเด็กที่สื่อสารได้รู้เรื่อง

เตรียมความพร้อมของปรอทวัดไข้
โดยการนำปรอทที่ทำความสะอาดแล้ว จับบริเวณปลายด้าม ด้านบนให้แน่น โดยหันปลายกระเปาะลงด้านล่าง สะบัดอย่างแรง ให้สีปรอทลงไปอยู่ต่ำกว่าขีด 35.6 องศาเซลเซียส (96 องศาฟาเรนไฮต์) และไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ไม่ว่าร้อนหรือเย็น ครึ่งชั่วโมงก่อนการวัดอุณหภูมิ

วิธีการใช้งานทั่วไป

  1. กดปุ่มเปิดเครื่อง
  2. เริ่มวัดอุณหภูมิ (ทางรักแร้ หรือทางช่องปาก)
  3. เมื่อครบเวลา เครื่องจะส่งเสียงเตือน ให้นำเครื่องวัดอุณหภูมิออกจากจุดที่วัด
  4. อ่านค่าอุณหภูมิที่วัดได้
  5. ปิดเครื่อง

ทั้งนี้ รายละเอียดการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิของแต่ละยี่ห้อ ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้งานเป็นหลัก

เลื่อนลง  ↓  Scroll Down

เครื่องวัดอุณหภูมิทางรูหู

(Ear Thermometer)

วิธีการใช้งาน

  1. กดปุ่มเปิดเครื่อง
  2. ดึงใบหูเบาๆ เพื่อให้ช่องหูตรง
  3. วางหัววัดอุณหภูมิในช่องหู (โดยวางตรงเข้าไปในเยื่อแก้วหู เพื่อให้ค่าอุณหภูมิที่ได้ถูกต้อง)
  4. กดปุ่ม “วัดอุณหภูมิ” 
  5. เมื่อครบเวลา เครื่องจะส่งเสียงเตือน ให้นำเครื่องวัดอุณหภูมิออกจากจุดช่องหู 
  6.  อ่านค่าอุณหภูมิที่วัดได้
  7. ปิดเครื่อง

ทั้งนี้ รายละเอียดการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิของแต่ละยี่ห้อ ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้งานเป็นหลัก

เลื่อนลง  ↓  Scroll Down

เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก

(Forehead Thermometer)

วิธีการใช้งาน

  1. ตั้งค่าการใช้งานให้เป็นโหมด “การวัดอุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature)”
  2. วัดอุณหภูมิ โดยชี้เครื่องวัดอุณหภูมิไปที่หน้าผาก ให้มีระยะห่างตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
  3. กดปุ่มบันทึกผลการวัด
  4. เมื่อครบเวลาเครื่องจะส่งเสียงเตือน
    อ่านค่าอุณหภูมิที่วัดได้
  5. ปิดเครื่อง

ทั้งนี้ รายละเอียดการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิของแต่ละยี่ห้อ ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้งานเป็นหลัก

เลื่อนลง  ↓  Scroll Down

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสแกนร่างกาย

(Thermoscan)

เทอร์โมสแกน คือ กล้องถ่ายภาพความร้อน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิที่พื้นผิวของวัตถุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการวัดแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ ช่วยให้เห็นภาพการกระจายของอุณหภูมิของวัตถุ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

CR Picture: www.hiviewproduct.com

หลักการทำงานของเทอร์โมสแกน

หลักการทำงานคือ กล้องจะตรวจจับรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกจากวัตถุเป้าหมาย (คน และวัตถุ) ผ่านเลนส์ของกล้อง และแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยเครื่องจะประมวลผลสร้างภาพความร้อน และแสดงผลออกมาในรูปของตัวเลข สี หรือกราฟ

การนำเทอร์โมสแกนมาใช้คัดกรองบุคคล ก่อนเข้าสู่อาคารต่างๆ นั้น ควรให้เดินผ่านเครื่องตรวจวัดทีละคน เพื่อให้ได้ผลการวัดที่แม่นยำ และหากพบผู้ต้องสงสัย ควรวัดซ้ำด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิทางการแพทย์ชนิดอื่น เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก (Forehead Thermometer) เพื่อยืนยันอุณหภูมิจริงของร่างกาย

ซึ่งเทอร์โมสแกนจะช่วยให้การคัดกรองผู้ผ่านเข้า-ออกอาคาร สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และผู้ควบคุมการตรวจวัดอุณหภูมิ มีความปลอดภัย เนื่องจากไม่ต้องใกล้ชิดกับผู้รับการตรวจคัดกรอง

เลื่อนลง  ↓  Scroll Down

ขอบคุณภาพ: Freepik.com

เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง

INFOGRAPHIC: เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง และข้อควรระวัง

INFOGRAPHIC: 4 ข้อแตกต่าง ระหว่างเครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากและเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดในภาคอุตสาหกรรม