ในปี 2503 (ค.ศ. 1960) ได้มีการสถาปนาระบบปริมาณระหว่างประเทศ (International System of Quantities, SIQ) และระบบหน่วยระหว่างประเทศ หรือ เอสไอ (International System of Units, SI) ขึ้น เพื่อให้เป็นระบบปริมาณ และระบบหน่วยที่ประเทศต่างๆ ใช้ร่วมกัน ประกอบด้วย

ปริมาณฐาน (base quantity)

  • มวล (mass)
  • ความยาว (length)
  • เวลา (time)
  • กระแสไฟฟ้า (electric current)
  • อุณหภูมิอุณหพลวัต (thermodynamic temperature)
  • ความเข้มของการส่องสว่าง (luminous intensity)
  • ปริมาณสาร (amount of substance)

หน่วยฐาน (base unit)

  • กิโลกรัม (kilogram, kg)
  • เมตร (metre, m)
  • วินาที (second, s)
  • แอมแปร์ (ampere, A)
  • เคลวิน (kelvin, K)
  • แคนเดลา (candela, cd)
  • โมล (mole, mol)

นิยามของหน่วยฐานมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับตามการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ทำให้สามารถออกแบบและสร้างการทดลองที่แสดงพฤติกรรมที่คงที่ เหมาะสมกับการนำมาใช้นิยามหน่วยฐาน กล่าวคือ สะดวกในการใช้งาน และมีสภาพทวนซ้ำได้สูง 

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยการชั่ง ตวง วัด (The General Conference on Weights and Measures, CGPM) ครั้งที่ 26 ณ เมืองแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติให้ยกเลิกนิยามของหน่วยฐานทั้ง 7 หน่วยที่ใช้อยู่ ณ วันประชุม และกำหนดค่าเชิงตัวเลข (numerical value) ให้กับค่าคงตัวทางฟิสิกส์ (physical constant) ทั้ง 7 ตัว โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป

ถือเป็นการปรับเปลี่ยนปรัชญา หรือแนวคิดในการนิยามหน่วยฐานครั้งใหญ่และสำคัญยิ่ง เป็นการนำความรู้จากฟิสิกส์เชิงควอนตัมและทฤษฎีสัมพันธภาพมาประยุกต์ทั้งระบบ

วิวัฒนาการของระบบหน่วยระหว่างประเทศ

วิวัฒนาการของระบบหน่วยระหว่างประเทศ

ระบบปริมาณระหว่างประเทศ (International System of Quantities, SIQ) และระบบหน่วยระหว่างประเทศ หรือเอสไอ (International System of Units, SI) ได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกอนุสัญญาเมตริก (Metre Convention) ในปี 2503 (ค.ศ. 1960) ให้เป็นระบบปริมาณและระบบหน่วยที่ประเทศสมาชิกใช้ร่วมกัน โดยระบบปริมาณระหว่างประเทศประกอบด้วยปริมาณฐาน 7 ปริมาณ ได้แก่ ความยาว มวล เวลา กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิเชิงเทอร์โมไดนามิกส์ ความเข้มของการส่องสว่างและปริมาณของสสาร โดยที่หน่วยของปริมาณทั้งเจ็ดเรียกว่าหน่วยฐาน ได้แก่ เมตร (metre, m) กิโลกรัม (kilogram, kg) วินาที (second, s) แอมแปร์ (ampere, A) เคลวิน (kelvin, K) แคนเดลา (candela, cd) และโมล (mole, mol) ตามลำดับ

อ่านเพิ่มเติม