นิทรรศการทางเลือก “NIMT Fight Covid-19” ฉบับออนไลน์ ที่ทำให้คุณเห็นความสำคัญของ “มาตรวิทยา” หรือ “วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการวัดและการประยุกต์ใช้” กับ การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
ความสำคัญของ “หน้ากากอนามัย”
เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 แพร่จากคนสู่คนทางละอองฝอยของสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจและการสัมผัสเชื้อไวรัส
การสวม “หน้ากากอนามัย (Surgical mask)” จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากการไอหรือจาม และสามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้อยู่ในวงจำกัดได้ในระดับหนึ่ง
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
“ไวรัสโคโรนา” แพร่กระจายได้อย่างไร ?
ไวรัสโควิด-19 ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะ (Droplets) จากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย
เมื่อร่างกายสูดดมสารคัดหลั่งเหล่านี้ก็จะติดเชื้อ โดยมีระยะฟักตัว 2 – 14 วัน และเมื่อผู้ป่วยมีอาการ โดยแสดงอาการเจ็บป่วยออกมาแล้วก็ยังแพร่โรคต่อไปได้อีกเรื่อยๆ
เมื่อละอองฝอยออกจากร่างกาย ไม่ใช่เพียงการสูดดมเท่านั้นที่จะทำให้รับเชื้อ ถ้าผู้ป่วยจามหรือไอใส่มือแล้วไปจับสิ่งของต่างๆ การสัมผัสก็เป็นโอกาสเสี่ยงในการรับเชื้อได้เช่นกัน เพราะเชื้อสามารถอยู่บนพื้นผิว เช่น โลหะ แก้ว ไม้ หรือพลาสติกได้นานถึง 5 วัน รวมถึงการอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้แล้วเชื้อที่ขับออกทางอุจจาระก็ยังแพร่เชื้อได้ โดยมีระยะฟักตัว 9 – 14 วัน
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
แต่กรณีของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ในขณะทำการตรวจหรือทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 จะมีความเสี่ยงสูงมากที่แพทย์อาจจะติดเชื้อต่อจากผู้ป่วยได้ การสวมชุด PPE (Personal Protective Equipment) อาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องสวมหน้ากาก PAPR (Powered Air Purifying Respirator) ร่วมด้วย
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
อุปกรณ์ PAPR มีความอย่างมากสำหรับ แพทย์แผนกวิสัญญี และศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดทางเดินระบบหายใจ หู คอ จมูก ศัลยแพทย์ที่เกี่ยวข้องด้านหลอดลมและปอด เพราะมีความเสี่ยงสูงที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยที่มีเชื้อโควิด-19 เนื่องจากการผ่าตัดจะใช้เวลานานหลายชั่วโมง การสวมหน้ากาก N95 ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้รู้สึก อึดอัด วิงเวียนศีรษะได้
ขอบคุณภาพ http://www.pangolin.co.th/content-detail.php?id=146
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
PAPR จะมีลักษณะเป็น หน้ากาก หรือหมวก หรือชุดคลุมศีรษะ ที่สามารถคลุมทั้งใบหน้าของผู้ใช้งาน โดยมีอากาศที่ผ่านตัวกรองแล้วส่งมาที่ชุดคลุมศีรษะ โดยภายในชุดคลุมศีรษะจะมีแรงดันอากาศมากกว่าภายนอก (Positive Pressure) จึงทำให้พวกเชื้อโรค เชื้อไวรัสต่างๆ เข้ามาภายในชุดไม่ได้ เพราะมีแรงอัดของลมคอยผลักอยู่ ผู้สวมใส่จึงมีความปลอดภัยสูงกว่าการสวมหน้ากากอนามัย ร่วมกับชุด PPE
ขอบคุณภาพ http://www.sukumvithospital.com/healthcontent.php?id=3529
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
ตามมาตรฐาน NIOH 42 CFR Part 84 กำหนดไว้ว่า หน้ากาก PAPR แบบความดันบวกนี้ จำเป็นต้องมีความดันภายในหน้ากากมากกว่าภายนอกห้ามเกิน 3.5” of water หรือ 0.87 kPa
ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวสำคัญมากต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน จึงจำเป็นต้องมีการวัดความดันของหน้ากาก PAPR ด้วยเครื่องมือวัดความดันดิฟเฟอเรนเชียล (Differential Pressure Gauge)
ปัจจุบันสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้เปิดให้บริการในการสอบเทียบเครื่องมือวัดความดันหลายรูปแบบ ครอบคลุมตั้งแต่สุญญากาศในระดับมิลลิปาสคาลไปจนถึงความดันสูงระดับเมกะปาสคาล
นอกจากนี้ยังมีเครืองมือมาตรฐานทุติยภูมิ และตติยภูมิทางด้านการวัดผลต่างความดัน ซึ่งสามารถนำไปสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานขั้นใช้งาน (Working Standard) ที่ใช้ในการทดสอบอุตสาหกรรมได้หลากหลาย ทั้งในด้าน การบินและอวกาศ ยานยนต์ รวมทั้งการแพทย์ด้วย ซึ่งความแตกต่างของความดันนี้ มีความสำคัญในภาวะที่มีโรคระบาด โดยจะทำให้สามารถควบคุมเส้นทางการไหลของอากาศ เช่น ในห้องความดันบวก และลบ (Positive and Negative Pressure Room) และในหน้ากากช่วยหายใจความดันบวก หรือ Positive Pressure Powered Air Purifying Respirator (PAPR) เพื่อสร้างความมั่นใจและสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
ขอบคุณภาพ: Freepik.com
เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง