นวัตกรรมนี้เป็นระบบพาสเจอร์ไรส์อาหารเหลว ด้วยเทคโนโลยีรังสียูวีซี (ระบบ UV reactor) ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเป็นไปตามหลักการสร้างวัสดุอุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร (Food grade)  ในส่วนของ UV reactor ได้สร้างช่องสังเกตการณ์ ติดกระจกชนิดพิเศษที่ทำจากวัสดุ Borosilicate เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานด้วย

     ในการทดลองทางด้านจุลชีววิทยา ได้ใช้นํ้ามะพร้าวเป็นตัวอย่างในการทดลอง   พบว่า ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด (Total plate count) มีค่า LRV (Log Reduction Value) อยู่ระหว่าง 3.52 ถึง 3.57 หรือ 99.9700% ถึง 99.9730%  ปริมาณเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์ม (Coliform) มีค่า LRV อยู่ระหว่าง 4.74 ถึง 4.85 หรือ 99.9982% ถึง 99.9986%  และปริมาณเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. coli) ลดลงเหลือน้อยกว่า 1 cfu/g  โดยที่คุณค่าทางโภชนาการ สี เนื้อสัมผัส รสชาติ และกลิ่นของอาหารส่วนใหญ่มีความใกล้เคียงกับวัตถุดิบตั้งต้น

ผู้ใช้ประโยชน์
ผู้ประกอบการ, อุตสาหกรรมผลิตอาหารเหลว

เจ้าของผลงาน
นายพลวัฒน์ จำปาเรือง 
นายณัฐพงศ์ ดำด้วง และ
นางสาวจารุวรรณ พรมสิงห์

กลุ่มงานแสงและสี
ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง

จัดทำโดย  ส่วนประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานสื่อสารองค์การ

Picture Credit: www.freepik.com