ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก (local gravity acceleration) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ค่า g มีความสำคัญต่องานด้านมาตรวิทยา โดยเฉพาะการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความดัน ที่จำเป็นต้องรู้ค่า g ในบริเวณที่สอบเทียบ เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณและแก้ค่าผลการวัดที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ การหาค่า g ทำได้โดยการวัดด้วยเครื่องมือวัด และการคำนวณโดยสมการ ซึ่งสองวิธีนี้เหมาะกับการสอบเทียบภายในห้องปฏิบัติการ แต่หากใช้สำหรับการสอบเทียบแบบนอกสถานที่ (On-site Calibration) แล้ว จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก หรือไม่อาจทำได้
บทความนี้ จึงนำเสนอวิธีการหาค่า g พร้อมทั้งประมาณการค่าความไม่แน่นอน (Uncertainty) สำหรับใช้ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความดัน แบบ On-site ในประเทศไทย เพื่อเป็นทางเลือกให้ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องต่อไป
เนื้อหาบทความ โดย
ลิขิต ใสหนู
ห้องปฏิบัติการความดันและสุญญากาศ
กลุ่มงานกลศาสตร์ของไหล ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล
Graphic design โดย
ฐานิยา คัมภิรานนท์
กลุ่มงานสื่อสารองค์การ
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Credit Vector: kjpargeter on www.freepik.com