นิทรรศการทางเลือก “NIMT Fight Covid-19” ฉบับออนไลน์ ที่ทำให้คุณเห็นความสำคัญของ “มาตรวิทยา” หรือ “วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการวัดและการประยุกต์ใช้” กับ การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
การวัดอุณหภูมิร่างกาย ถือเป็นวิธีเบื้องต้น ที่ช่วยในการประเมินร่างกายของประชาชนทั่วไปว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 หรือไม่
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
โดยทั่วไป อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายมนุษย์ปกติ จะอยู่ระหว่าง 36.5 – 37.5 องศาเซลเซียส หรือ 97.7 – 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ หากคนเรามีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป (หรือสูงกว่า 99.5 องศาฟาเรนไฮต์) แสดงว่า มีไข้ ไม่สบาย
หากผู้มีอาการป่วย เป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่โรคติดเชื้อโควิด-19 กำลังระบาด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสสูงที่คน ๆ นั้นจะเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
เครื่องวัดอุณหภูมิทางการแพทย์
…มีกี่ประเภทกันนะ ….
แถบวัดอุณหภูมิ
(Forehead Thermometer Strip)
นิยมเรียก “แถบวัดไข้” หรือ “เทปวัดไข้” ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
วิธีการใช้งาน
- วางแถบวัดอุณหภูมิบนหน้าผากที่แห้ง อย่างน้อย 15 วินาที หรือจนกระทั่งสีที่ปรากฏขึ้นบนแถบวัดอุณหภูมิไม่เปลี่ยน
- อ่านผลขณะที่แถบวัดอุณหภูมิยังอยู่บนหน้าผาก
- เมื่อใช้งานแล้ว เพียงใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาด ก็สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ หากจำเป็นสามารถล้างด้วยสบู่และน้ำได้ แต่อย่านำไปแช่น้ำ
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
ปรอทวัดไข้
(Medical Thermometer หรือ Glass Thermometer)
ปรอทวัดไข้ มักถูกเรียกสั้น ๆ ว่า “เทอร์โมมิเตอร์” ใช้วัดไข้ได้ทั้งทางปาก ทางรักแร้ และทางทวารหนัก
เตรียมความพร้อมของปรอทวัดไข้
โดยการนำปรอทที่ทำความสะอาดแล้ว จับบริเวณปลายด้าม ด้านบนให้แน่น โดยหันปลายกระเปาะลงด้านล่าง สะบัดอย่างแรง ให้สีปรอทลงไปอยู่ต่ำกว่าขีด 35.6 องศาเซลเซียส (96 องศาฟาเรนไฮต์)
ไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ไม่ว่าร้อนหรือเย็น เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงก่อนการวัดอุณหภูมิ
วิธีการใช้งาน
- การวัดไข้ทางรักแร้
เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี โดยเช็ดรักแร้ให้แห้ง สอดปลายกระเปาะบริเวณกึ่งกลางรักแร้ หนีบไว้อย่างน้อย 4 นาที แล้วจึงอ่านอุณหภูมิ - การวัดไข้ทางปาก
เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 5 ปี ขึ้นไป โดยสอดปลายกระเปาะไว้บริเวณใต้ลิ้น ปิดปากลง ห้ามเคี้ยวหรือกัดปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้ปรอทแตก รอประมาณ 3-4 นาที แล้วจึงอ่านอุณหภูมิ - การวัดไข้ทางทวารหนัก
เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด หรือเด็กเล็ก โดยนำปลายกระเปาะทาด้วยวาสลิน หรือสารหลื่อลื่น เพื่อลดการเสียดสีทางทวารหนัก ค่อยๆ สอดปลายกระเปาะเข้าไปในก้นอย่างระมัดระวัง ไม่ควรสอดลึกเกิน 1 นิ้ว รอสัก 1 – 3 นาที จึงนำออกมาอ่านอุณหภูมิ
- วิธีการอ่านอุณหภูมิ
ใช้มือจับปลายด้านบน ให้ปรอทอยู่แนวนอน จนเห็นอุณหภูมิชัดเจน อ่านค่าบริเวณขีดสิ้นสุดของปรอท - การดูแลรักษาปรอทวัดไข้
หลังการใช้แล้ว ควรล้างสบู่แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ รอให้แห้งแล้วบรรจุลงในกล่องเดิมเพื่อเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไป
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล
(Digital Thermometer หรือ Digital Medical Thermometer)
ขอบคุณภาพ: www.thaichildcare.com
วิธีการใช้งาน
- การวัดไข้ทางรักแร้: เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด และเด็กเล็ก
- การวัดไข้ทางช่องปาก: เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ หรือเด็กที่สื่อสารได้รู้เรื่อง
เตรียมความพร้อมของปรอทวัดไข้
โดยการนำปรอทที่ทำความสะอาดแล้ว จับบริเวณปลายด้าม ด้านบนให้แน่น โดยหันปลายกระเปาะลงด้านล่าง สะบัดอย่างแรง ให้สีปรอทลงไปอยู่ต่ำกว่าขีด 35.6 องศาเซลเซียส (96 องศาฟาเรนไฮต์) และไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ไม่ว่าร้อนหรือเย็น ครึ่งชั่วโมงก่อนการวัดอุณหภูมิ
วิธีการใช้งานทั่วไป
- กดปุ่มเปิดเครื่อง
- เริ่มวัดอุณหภูมิ (ทางรักแร้ หรือทางช่องปาก)
- เมื่อครบเวลา เครื่องจะส่งเสียงเตือน ให้นำเครื่องวัดอุณหภูมิออกจากจุดที่วัด
- อ่านค่าอุณหภูมิที่วัดได้
- ปิดเครื่อง
ทั้งนี้ รายละเอียดการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิของแต่ละยี่ห้อ ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้งานเป็นหลัก
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
เครื่องวัดอุณหภูมิทางรูหู
(Ear Thermometer)
วิธีการใช้งาน
- กดปุ่มเปิดเครื่อง
- ดึงใบหูเบาๆ เพื่อให้ช่องหูตรง
- วางหัววัดอุณหภูมิในช่องหู (โดยวางตรงเข้าไปในเยื่อแก้วหู เพื่อให้ค่าอุณหภูมิที่ได้ถูกต้อง)
- กดปุ่ม “วัดอุณหภูมิ”
- เมื่อครบเวลา เครื่องจะส่งเสียงเตือน ให้นำเครื่องวัดอุณหภูมิออกจากจุดช่องหู
- อ่านค่าอุณหภูมิที่วัดได้
- ปิดเครื่อง
ทั้งนี้ รายละเอียดการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิของแต่ละยี่ห้อ ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้งานเป็นหลัก
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก
(Forehead Thermometer)
วิธีการใช้งาน
- ตั้งค่าการใช้งานให้เป็นโหมด “การวัดอุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature)”
- วัดอุณหภูมิ โดยชี้เครื่องวัดอุณหภูมิไปที่หน้าผาก ให้มีระยะห่างตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
- กดปุ่มบันทึกผลการวัด
- เมื่อครบเวลาเครื่องจะส่งเสียงเตือน
อ่านค่าอุณหภูมิที่วัดได้ - ปิดเครื่อง
ทั้งนี้ รายละเอียดการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิของแต่ละยี่ห้อ ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้งานเป็นหลัก
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสแกนร่างกาย
(Thermoscan)
เทอร์โมสแกน คือ กล้องถ่ายภาพความร้อน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิที่พื้นผิวของวัตถุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการวัดแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ ช่วยให้เห็นภาพการกระจายของอุณหภูมิของวัตถุ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
CR Picture: www.hiviewproduct.com
หลักการทำงานของเทอร์โมสแกน
หลักการทำงานคือ กล้องจะตรวจจับรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกจากวัตถุเป้าหมาย (คน และวัตถุ) ผ่านเลนส์ของกล้อง และแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยเครื่องจะประมวลผลสร้างภาพความร้อน และแสดงผลออกมาในรูปของตัวเลข สี หรือกราฟ
การนำเทอร์โมสแกนมาใช้คัดกรองบุคคล ก่อนเข้าสู่อาคารต่างๆ นั้น ควรให้เดินผ่านเครื่องตรวจวัดทีละคน เพื่อให้ได้ผลการวัดที่แม่นยำ และหากพบผู้ต้องสงสัย ควรวัดซ้ำด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิทางการแพทย์ชนิดอื่น เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก (Forehead Thermometer) เพื่อยืนยันอุณหภูมิจริงของร่างกาย
ซึ่งเทอร์โมสแกนจะช่วยให้การคัดกรองผู้ผ่านเข้า-ออกอาคาร สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และผู้ควบคุมการตรวจวัดอุณหภูมิ มีความปลอดภัย เนื่องจากไม่ต้องใกล้ชิดกับผู้รับการตรวจคัดกรอง
เลื่อนลง ↓ Scroll Down
ขอบคุณภาพ: Freepik.com
เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง