นิทรรศการทางเลือก “NIMT Fight Covid-19” ฉบับออนไลน์ ที่ทำให้คุณเห็นความสำคัญของ “มาตรวิทยา” หรือ “วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการวัดและการประยุกต์ใช้” กับ การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
เลื่อนลง ↓ Scroll down
คำถาม
คุณรู้ไหม ?
การล้างมือ คือ วิธีการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือ โควิด-19 ที่ดีมากอันหนึ่ง
แต่เราก็ไม่สามารถทำการล้างมือได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตอนอยู่ในที่สาธารณะ จึงจำเป็นต้องใช้ตัวช่วย คือ “แอลกอฮอล์” ทั้งในรูปแบบของ เจล และสเปรย์
มาหาคำตอบกัน
ว่า ทำไม “แอลกอฮอล์” จึงป้องกันโควิด-19 ได้
เลื่อนลง ↓ Scroll down
แอลกอฮอล์ที่ใช้งานในโรงพยาบาลมี 2 ชนิด คือ
- เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol หรือ ethanol) และ
- ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol)
แอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดเป็นของเหลว ไม่มีสี ระเหยได้ที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีฤทธิ์ตกค้าง แอลกอฮอล์จะมีประสิทธิภาพในการทำลายได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อรา และไวรัส เมื่อมีความเข้มข้นประมาณ 70-90% โดยปริมาตร โดยเอทิลแอลกอฮอล์จะทำลายเชื้อไวรัสได้ดีกว่าไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์
เลื่อนลง ↓ Scroll down
Lupe Hernandez
ขอบคุณภาพ: los angeles times.com
TIPs
เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หรือ Hand sanitizer ถูกคิดค้นครั้งแรกโดยพยาบาลชาวอเมริกันชื่อ Lupe Hernandez
เจลแอลกอฮอล์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดมือเมื่อไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำหรือสบู่ ใช้ง่ายสะดวกและปลอดภัย โดยควรมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 60% – 90% (ปริมาตร/ปริมาตร) จึงจะใช้ได้ผล เหมาะที่สุดก็คือ 70%
เลื่อนลง ↓ Scroll down
คำถาม
ทำไมถึงต้องใช้
แอลกอฮอล์ 70%
ขึ้นไป ?
มาดูคำตอบกัน
เลื่อนลง ↓ Scroll down
จากการทดลองในต่างประเทศ พบว่า ต้องใช้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นเกิน 70% จึงจะสามารถทำลายไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม เช่น SARS-CoV-2 หรือ ไวรัส COVID-19 ได้
โดยแอลกอฮอล์เมื่อละลายกับน้ำจะสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ดีขึ้น จึงทำให้โปรตีนเสียสภาพ และยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์แตกและเข้าไปรบกวนระบบ metabolism ของเชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคตายในที่สุด
ส่วนแอลกอฮอล์ที่มีเข้มข้นมากกว่า 90% จะทำให้โปรตีนด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์เสียสภาพได้อย่างเดียว ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์สูงเกินไปก็จะระเหยเร็วเกินไป ในขณะที่เจือจางก็จะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้น้อยลง
เลื่อนลง ↓ Scroll down
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า
แอลกอฮอล์ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่เราซื้อมาใช้ เป็นแอลกอฮอล์ประเภทใด ?
“มาตรวิทยา” ช่วยคุณหาคำตอบได้
ตามมาดูกัน
เลื่อนลง ↓ Scroll down
การวัดจุดเดือด
นำแอลกอฮอล์ที่ต้องการทดสอบ ใส่ลงในหลอดทดลอง และใส่หลอดคาปิลารีลงไป นำหลอดทดลองจุ่มลงในบีกเกอร์ที่มีน้ำ ให้ความร้อนสารละลายโดยใช้ hot plate พร้อมทั้งคนสารละลายเพื่อให้ความร้อนกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ สังเกตสารละลายจนกระทั่งเห็นฟองอากาศสุดท้ายตรงหลอดคาปิลารี วัดอุณหภูมิของสารละลายโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์
ถ้าแอลกอออล์ที่ทดสอบเป็นเมทิลแอลกอฮอล์จะวัดจุดเดือดได้ประมาณ 65 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์มีวัดจุดเดือดได้ประมาณ 78 องศาเซลเซียส และถ้าเป็นไอโซโพรพิวแอลกอฮอล์จะมีจุดเดือดประมาณ 83 องศาเซลเซียส
วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้หาจุดเดือดของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ที่เป็นของเหลว และไม่อยู่ในรูปของเจล เพราะองค์ประกอบอื่นๆ ที่ผสมลงในเจล มีผลทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้
เลื่อนลง ↓ Scroll down
การตรวจดูจากสีของเปลวไฟ
นำแอลกอฮอล์ที่ต้องการทดสอบใส่ในภาชนะ จุดไฟ ดูลักษณะ และสีของเปลวไฟ
- ถ้าเป็นเมทิล-แอลกอฮอล์ สีของเปลวไฟเป็นสีฟ้า และติดไฟได้น้อย
- ถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ สีของเปลวไฟจะเป็นสีส้ม ลักษณะของเปลวไฟจะสูงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์
- ถ้าเป็นไอโซโพรพิวแอลกอฮอล์ จะมีสีของเปลวไฟเป็นสีส้ม ลักษณะของเปลวไฟจะสูงกว่าเอทิลแอลกอฮอล์ เปลวไฟค่อนข้างสูง
วิธีนี้เหมาะสำหรับทดสอบแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ถ้าเป็นเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งมีส่วนผสมของสารหลายชนิด อาจจะทำให้การดูสี และลักษณะของเปลวไฟค่อนข้างยาก
เลื่อนลง ↓ Scroll down
การทดสอบโดยใช้สารละลายด่างทับทิม
นำน้ำส้มสายชูประมาณ 10 มล. ผสมกับด่างทับทิมประมาณ 2-3 เกล็ด คนให้เข้ากันได้จนสารละลายสีชมพูบานเย็น เติมสารละลายด่างทับทิมลงในแอลกอฮอล์ที่ต้องการทดสอบ โดยใช้อัตราส่วนสารละลายด่างทับทิม ต่อแอลกอออล์ ประมาณ 1:3 โดยปริมาตร คนสารละลายให้เข้ากัน สังเกตการเปลี่ยนสีของสารละลายผสม
- ถ้าเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ สีของสารละลายด่างทับทิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังคงเป็นสีชมพูบานเย็น
- ถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ และไอโซโพรพิวแอลกอฮอล์ สีชมพูบานเย็นของสารละลายจะเปลี่ยนสี ไปภายในเวลาประมาณ 15-20 นาที
วิธีนี้สามารถทดสอบได้ทั้งแอลกอฮอล์ที่เป็นของเหลวและแบบเจล
เลื่อนลง ↓ Scroll down
3 ขั้นตอน
การทำความสะอาดมือ
ด้วยเจลแอลกอฮอล์
การใช้เจลล้างมือหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพนั้น ต้องใช้ในจำนวนที่ไม่น้อยเกินไป ถูให้ทั่วทั้งฝ่ามือ หลังมือ และข้อมือให้ชุ่ม แล้วปล่อยให้มือแห้ง โดยไม่ต้องเช็ดออก
ไม่ควรนำเจลหรือสเปรย์ล้างมือดังกล่าวไปใช้ในการล้างมือที่เปื้อนสารเคมี น้ำมัน หรือดิน แต่ควรจะล้างมือโดยใช้สบู่และน้ำสะอาด ชำระสารเคมี คราบน้ำมัน หรือสิ่งสกปรกออกจากมือ
เลื่อนลง ↓ Scroll down
มว. ร่วมฝ่าวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ด้วยการ ส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีแบบ New Normal ด้วยมาตรวิทยา