ประแจวัดแรงบิดมาตรฐานนี้ ออกแบบให้ sensing body ประกอบด้วย check signal และ measurement signal และติดตั้ง strain gauge ที่ sensing body ด้านละ 2 ตัว
ข้อดีคือ สามารถทำการทวนสอบสัญญาณได้ด้วยตัวเอง ทำให้ทราบสถานะของเครื่องมือก่อนทำการสอบเทียบ ช่วยลดปัญหาการ reject งานบริการแบบ On-site Calibration ซึ่งแตกต่างจากเครื่องมือที่วางจำหน่ายในท้องตลาด อีกทั้งยังมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเครื่องมือที่นำเข้าจากต่างประเทศมากกว่า 10 เท่า
ประแจนี้ เหมาะใช้ในการสอบเทียบ Torque Wrench Calibration Devices ในช่วงพิสัยการวัด 1 N•m ถึง 2000 N•m โดยมีความแม่นยำ (accuracy) ใน class 0.2 อ้างอิงตามมาตรฐาน DAkkS-DKD R3-7
ผู้ใช้ประโยชน์
ห้องปฏิบัติการสอบเทียบระดับทุติยภูมิที่ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดแรงบิด
เจ้าของผลงาน
นายโชคชัย วาดทอง
กลุ่มงานกลศาสตร์ของแข็งและการทดสอบ ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล
NIMT แจกฟรี EBook “นวัตกรรมมาตรวิทยา 2562-2564” หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมผลงานนวัตกรรมของ มว. ในช่วงระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ถึง 2564 ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมเครื่องมือวัด หรือระบบการวัดต้นแบบ ที่มุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถทางการวัด เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีนวัตกรรมด้าน Software ที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการสอบเทียบ ซึ่งจะช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจนวัตกรรมได้ต่อไป
Click ที่ภาพ เพื่ออ่านหรือดาวน์โหลด PDF
จัดทำโดย
ส่วนประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานสื่อสารองค์การ
Picture Credit: www.freepik.com