เวลามาตรฐานประเทศไทย (Thailand Standard Time) ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ถูกนำไปใช้งานทั่วประเทศในระบบต่าง ๆ เช่น ระบบการเงินการธนาคาร  และระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม  ทั้งนี้หาก “เวลา” ที่นำไปใช้ไม่แม่นยำ ก็จะส่งผลต่อการทำงานของระบบเหล่านั้นได้

แหล่งกำเนิดเวลาและความถี่มาตรฐานประเทศไทย (Ceasium clock and Hydrogen frequency standard)

ระบบถ่ายทอดเวลามาตรฐานประเทศไทย ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

  ซึ่งระบบการรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทย ประกอบด้วย นาฬิกาอะตอมซีเซียม 4 เครื่อง และนาฬิกาอะตอมไฮโดรเจนเมเซอร์อีก 1 เครื่อง โดยนาฬิกาอะตอมทั้งหมดจำเป็นต้องมีตรวจสอบและเฝ้าระวังสถานภาพเป็นประจำในทุกๆ วัน  ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในระบบดังกล่าว มว. จึงได้พัฒนาระบบที่สามารถจัดเก็บสถานภาพ และตรวจวัดเวลาจากนาฬิกาอะตอมแต่ละตัว และนำค่าเหล่านั้นแสดงบนเวบไซต์ เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบการทำงานของนาฬิกาอะตอมได้ตลอดเวลา และมีบันทึกค่าสถานภาพต่าง ๆ หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติขึ้นกับระบบ

 

 “ระบบบันทึกและแสดงผลเวลาของนาฬิกาอะตอมซีเซียม”
ประกอบด้วย 2 ระบบย่อย
ดังนี้

ระบบบันทึกสถานะของนาฬิกาอะตอมซีเซียมภายในห้องกันสัญญาณรบกวน (shielded room)

    เป็นระบบที่ใช้ในการวัดและบันทึกสถานะของนาฬิกาอะตอมซีเซียม โดยจะทำการดึงข้อมูลสถานะด้วยบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และทำการบันทึกข้อมูลบนฐานข้อมูล ทำให้ผู้ดูแลสามารถเฝ้าระวังระบบได้ตลอดเวลา  อีกทั้งยังมีระบบแจ้งเตือน ในกรณีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น

ระบบบันทึกและแสดงผลเวลาของนาฬิกาอะตอมซีเซียม

 เป็นระบบที่ใช้วัดผลต่างเวลาของนาฬิกาอะตอมแต่ละตัว เพื่อนำมาใช้คำนวณมาตรเวลา (Timescale) โดยจะทำการบันทึกค่าทุกนาทีบนฐานข้อมูล  ข้อดีคือ ช่วยลดความผิดพลาดของการบันทึกข้อมูล และลดการรบกวนสภาพแวดล้อมภายในห้องที่เก็บรักษานาฬิกาอะตอม

ผู้ใช้ประโยชน์
ห้องปฏิบัติการด้านเวลาและห้องปฏิบัติการที่ใช้งานนาฬิกาอะตอม

เจ้าของผลงาน
ดร.ปิยพัฒน์ พูลทอง
กลุ่มงานมาตรฐานปฐมภูมิไฟฟ้า เวลาและความถี่  ฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า

   NIMT แจกฟรี EBook นวัตกรรมมาตรวิทยา 2562-2564” หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมผลงานนวัตกรรมของ มว. ในช่วงระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ถึง 2564 ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมเครื่องมือวัด หรือระบบการวัดต้นแบบ ที่มุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถทางการวัด เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  นอกจากนั้นยังมีนวัตกรรมด้าน Software ที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการสอบเทียบ ซึ่งจะช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจนวัตกรรมได้ต่อไป

Click ที่ภาพ  เพื่ออ่านหรือดาวน์โหลด PDF

จัดทำโดย
ส่วนประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานสื่อสารองค์การ

Picture Credit: www.freepik.com